ชนเผ่าไทกุลา

กุลา จากชนเผ่าพ่อค้าเร่ สู่ตำนานแห่งท้องทุ่ง

กุลา คือ ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่ ที่เดินทางค้าขายอยู่ในภาคอีสาน ในพงศาวดารภาคที่ 4 เรียก พวกกุลา ว่า นายกองตองสู หรือ ตองสู้ หรือ ต้องสู้
“กุลา, กุหล่า” ในภาษาลาวหมายถึง กลุ่มคนที่มาจากพม่าโดยเดินทางมาค้าขายเร่ไปตามบ้าน ซึ่งต่อมาการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ และนักมานุษยวิทยาพบว่า กุหล่า หรือ กุลา คือ ชาวไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศเมียนมา (บ้างก็ว่ามาจากเมืองมะละแหม่ง มีนิสัยชอบเดินทางค้าขาย) ที่ได้เดินทางมาติดต่อค้าขายในท้องที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นคำที่ชาวพม่าใช้เรียกชาวมุสลิมอินเดีย (Sulaiman, 1931:35-39) ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 2390 กุลาเข้ามาตั้งรกรากในจังหวัดอุบลราชานี ในฐานะ "เขยสู่" เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจการเมือง คนท้องถิ่นนิยมเรียกพวกเขาว่า กุลา ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของจิตร ภูมิศักดิ์ “ในภาษาลาว กุหล่า เป็นคำเรียกชนพวกหนึ่งที่มาจากพะม่าเหนือ, สพายสัมภาระเร่ขายไปตามละแวกบ้าน, แต่ที่เข้าใจรวมๆ ว่าคือพะม่าก็มี” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2557: 361) แต่ คนกุลากลับขนานนามตนเองว่า “ต่องสู่” Ronald D. Renard ได้ตั้งข้อสังเกต ว่า “ต่องสู่” จัดอยู่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงรู้จักกันดีในชื่อ กะเหรี่ยงดำ หรือ ปะโอ (Renard, 2003:8) [ เอกสารอ้างอิง "ประวัติศาสตร์กุลา" ]
ที่มา https://www.isangate.com
ชาวกุลา คงจะเดินทางเร่ขายสินค้าในภาคอีสานนานแล้ว จนมีชื่อเรียก ทุ่งกุลาร้องไห้ (ซึ่งเป็นทุ่งที่กว้างใหญ่ มีพื้นที่ติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสุรินทร์) การเร่ขายสินค้าของชาวกุลาหรือต้องสู้นี้ จะเดินทางเป็นกองพ่อค้าวัวต่างจำนวนมาก บางคณะอาจจะมีถึง 100 คน
ชนเผ่าไทดำ                          ชนเผ่าชาวกูย