ชนเผ่าเขมร (คะแมร์)

ชนชาวเขมร

เขมรถิ่นไทย เป็นชื่อทางวิชาการได้กำหนดขึ้น เพื่อเรียกผู้ที่พูดภาษาเขมรซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยทั่วไปชาวเขมรถิ่นไทยเรียกตัวเองว่า "คแมร์" หรือ "คแมร์-ลือ" แปลว่า เขมรสูง เรียกภาษาเขมรและชาวเขมรในกัมพูชาว่า "คแมร์-กรอม" แปลว่า เขมรต่ำ และเรียกคนไทยว่า "ซีม" ซึ่งตรงกับคำว่า "สยาม" ในภาษาไทย เมื่อพิจารณาเขตการปกครอง นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งภาษาเขมรเป็น 3 กลุ่ม คือ
  1. ภาษาเขมรเหนือ หรือเขมรสูง (เขมรถิ่นไทย)
  2. ภาษาเขมรกลาง เป็นภาษาของผู้ที่อยู่ใน กัมพูชา
  3. ภาษาเขมรใต้ เป็นภาษาของคนเวียดนามเชื้อสายเขมร
ปัจจุบันพบชาวเขมรถิ่นไทยอาศัยอยู่ใน จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว
ชาวเขมรสูง ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตภาคอีสานตอนใต้มาแต่โบราณกาลแล้ว และได้สืบเชื้อสายต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน โดยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในปี พ.ศ. 2324 เมืองกัมพูชาเกิดจลาจล จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปปราบ ในสงครามครั้งนี้ เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ ได้ร่วมยกกองทัพไปตีเมืองเสียมราฐ กำพงสวาย บันทายเพชร บันทายมาศ และได้นำชาวเขมรจำนวนมากมาไว้ที่ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ชาวเขมรรุ่นสุดท้าย ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศีรษะเกษ เมื่อปี พ.ศ. 2410
ที่มา https://www.isangate.com

ครอบครัวของชาวเขมร มีความคล้ายคลึงกับครอบครัวไทยพื้นเมือง คือ พ่อบ้านเป็นหัวหน้าครอบครัว แม่บ้านดูแลภายในบ้าน ให้เกียรติแก่เพศชายในการดำเนินกิจกรรม หรือ ตัดสินเรื่องต่างๆ และมีการอยู่รวมกันหลายครอบครัว อาจประกอบด้วยปู่ย่า-ตายาย ลุงป้า-น้าอา พ่อแม่ ลูกหลาน พี่น้องจำนวนมากครอบครัวใด ที่มีลูกสาวหลายคน สมาชิกก็มีแนวโน้มขยายมากขึ้น การแต่งงานของชาวเขมรถิ่นไทย ฝ่ายชายต้องเสียเงินและบรรณาการให้ฝ่ายหญิง โดยต้องจัดขันหมาก ไปให้ฝ่ายหญิง ประกอบด้วย หมู เหล้า ขนม ข้าวต้ม ผลไม้และเงินทอง ฝ่ายหญิงต้องล้างเท้าให้ฝ่ายชายก่อนขึ้นบ้าน ชาวเขมรสูง ส่วนมากอยู่ในชนบทมี ชีวิตเรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่ว่างจากการทำนา ทำไร่ จะเดินทางไปรับจ้างในตัวเมือง และในกรุงเทพฯ เมื่อถึงฤดูเพาะปลูกก็จะ เดินทางกลับภูมิลำเนา ประกอบอาชีพหลักของตน
ชนเผ่าชาวกูย                          ชนเผ่าไทญ้อ